สมุทัย
"สมุทัย" หรือ
"ทุกขสมุทัย" หรือ
"ทุกขสมุทัยอริยสัจ" เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งใน
"หมวดอริยสัจ" หรือ
"อริยสัจ ๔ " หมายถึง เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งเกิดจาก
"ตัณหา"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน"
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑...."
จาก พระไตรปิฎก ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา
พระองค์เรียกว่า
"ตัณหา๓" คือ
"กามตัณหา"
"ภวตัณหา"
"วิภวตัณหา"
ไม่นอกเหนือไปจากตัณหาสามประการนี้
๑. กามตัณหา
คือ ความอยากได้ คนเกิดขึ้นมาด้วยกาม กินอยู่ด้วยกาม นอนอยู่ในกาม นั่งอยู่ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่หนีไปจากห้าอย่างนี้ ผู้ใดเกิดมาต้องวุ่นวายอยู่กับของเหล่านี้แหละ เดือดร้อนอยู่กับของเหล่านี้ คือมันข้องมันติด ไปไม่หลุด ไปไม่พ้น
๒. ภวตัณหา
คือความอยากเป็น อยากได้โน่นอยากได้นี่ ได้แล้วก็อยากได้อีก เป็นแล้วก็อยากเป็นอีก ไม่อิ่มไม่พอเป็นสักที นี่ก็เป็นทุกข์ เพราะความไม่อิ่มไม่พอ เรียกว่า ภวตัณหา พระองค์ได้ละแล้ว
๓. วิภวตัณหา
คือความไม่อยากเป็น ไม่อยากได้โน่นไม่อยากได้นี่ ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เพราะความไม่อยาก จึงเป็นเหตุให้เดือดร้อนเป็นทุกข์เรียกว่า วิภวตัณหา
ขันธวิบากทุกข์ซึ่งยังมีร่างกายอันนี้อยู่จึงจำเป็นจะต้องเสวยทุกข์อยู่ด้วยกันทุกรูปทุกนาม
สมุทัยเป็นของควรละ อย่างความอยาก เราอยากได้โน่น อยากได้นี่ เราไม่เอาละ สละทิ้งเลย ปล่อยวางเลย สละได้จริงๆ นั่นแหละ สมุทัยคือ "ตัณหา"