การเจริญภาวนา-นั่งสมาธิ

อานาปานสติ
อานาปานสติ ก็เป็นการทำสมาธิอีกวิธีหนึ่ง โดยหลักการที่สำคัญก็คือการเพ่งลมหายใจเข้าออก คือจะรวมจิตไว้ที่การรับรู้ลมหายใจเข้าออก เพื่อไม่ให้จิตซัดส่ายคิดไปในเรื่องต่างๆ

โดยปรกติแล้วจะยึดจิตไว้ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากด้านบน ตรงจุดที่รู้สึกถึงการกระทบ ของลมหายใจ ที่ชัดเจนที่สุด

แล้วคอยสังเกตลักษณะของลมหายใจอยู่ที่จุดนั้น โดยไม่ต้องเลื่อนจิตตามลมหายใจ เหมือนเวลาเลื่อยไม้ ตาก็มองเฉพาะที่จุดที่เลื่อยสัมผัสกับไม้เพียงจุดเดียว ไม่ต้องมองตามใบเลื่อย ก็จะรู้ได้ว่าตอนนี้กำลังเลื่อยเข้าหรือเลื่อยออก เมื่อจิตอยู่ที่จุดลมกระทบเพียงจุดเดียว ก็จะรู้ทิศทาง และลักษณะของลมได้เช่นกัน

การสังเกตนั้น
คือสังเกตว่ากำลังหายใจเข้าหรือออก ลมหายใจยาวหรือสั้น ลมหายใจเย็นหรือร้อน ลมหายใจหยาบหรือละเอียด
(ดูเรื่องอานาปานสติสูตร ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ)

พร้อมกันนั้นก็มีคำบริกรรมประกอบไปด้วย เช่น

หายใจเข้าบริกรรมว่า "พุท"
หายใจออกบริกรรมว่า "โธ"
หรืออาจจะบริกรรมตามลักษณะของลมหายใจในขณะนั้น เช่น

เข้า-ออก หรือ ยาว-สั้น หรือ เย็น-ร้อน
หรืออาจจะใช้วิธีการนับเลข ๑ - ๑๐ ก็ได้

อานาปานสติ (–ปานะสะติ) มีอยู่ 16 คู่ คือ

1.หายใจเข้ายาวรู้- หายใจออกยาวรู้
2.หายใจเข้าสั้นรู้- หายใจออกสั้นรู้

(ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นเมื่อใจเป็นสมาธิ)
3.หายใจเข้ากำหนดกองลมทั้งปวง - หายใจออกกำหนดกองลมทั้งปวง
(จิตจะกำหนดแต่กองลมในกาย ถ้าบริกรรมคำใดอยู่ เช่น พุทโธ คำบริกรรมจะหายไปเอง)
4.หายใจเข้า-ออกเห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้
(จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)
5.หายใจเข้า-ออกปีติ เกิดก็รู้
6.หายใจเข้า-ออก สุขเกิดก็รู้
7.หายใจเข้า-ออก กำหนดจิตสังขาร
(อารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต เช่น รัก ราคะ โกรธ หลง)
ทั้งปวง /ที่เหลือเพียงอารมณ์อุเบกขา (ถ้ากำหนดมาตามระดับ)

8.หายใจเข้า-ออก เห็นจิตสังขารสงบก็รู้
(ครูบาอาจรย์บางรูป วินิจฉัยว่า ช่วงนี้จิตจะไม่กำหนดสัญญา)
9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต
(พิจารณาสภาวะรู้(วิญญาณขันธ์)/ว่าจิตพิจารณารู้ในอานาปานสติอยู่
10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิง
(มโน-สภาวะที่น้อมพิจารณาเพ่งอยู่/จิตยินดีในองค์ภาวนาคืออานาปานสติ) ก็รู้
11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น
(ในอารมณ์ฌานของอานาปานสติ) ก็รู้
12.หายใจเข้า-ออกจิตเปลื้อง
(ในอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตแห่งอานาปานสติ) ก็รู้
13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง )
ในขันธ์ทั้ง 5 (มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์)
14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง
(การไม่ปรุงแต่งภายนอก หรือวิราคะคือการมีมานะให้ค่าตีราคาสรรพสิ่ง เช่น ต้นไม้ย่อมมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ เราตัดสินว่าต้นไม้นี่ลักษณะสวย ต้นไม้นี่ลักษณะไม่สวย)
15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติด
(การไม่ยึดมั่นภายใน หรือนิโรธ เช่นมีคนนำขวดน้ำมาวางไว้ข้างหน้าเรา ให้เรา ต่อมามีคนคว้ามันไปกิน เราโกรธว่ากินน้ำเรา คือ ความยึดมั่นนั้นเพิ่งเกิด เมื่อเราไปยึดไว้)
16.หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
(ปฏินิสสัคคายะ)

• จัดให้ข้อ ๑ - ๔ เป็น "กายานุปัสสนา"
• ข้อ ๕ - ๘ เป็น "เวทนานุปัสสนา"
• ข้อ ๙ - ๑๒ เป็น "จิตตานุปัสนา"
• ข้อ ๑๓ - ๑๖ เป็น "ธรรมนุปัสสนา"

อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมาก เนื่องจากอานาปานสติสามารถที่ภาวนาลัดให้มาสู่ สัมมสนญาน ๑ ใน ญาณ ๑๖ ได้ โดยไม่ต้องเจริญสติและพิจารณาสัญญา ๑๐ ไปด้วย เหมือนอย่างอื่นๆ เมื่อเจริญอานาปานสติตามข้อ ๑ สภาวะย่อมเป็นไปโดยลำดับจาก

ข้อ ๑ - ๑๒ จิตจะเป็น ปฐมฌาณ อันเกิดจากการ เจริญสติ (เกิดสัมมสนญาณ) จะพบเห็นขันธ์ทั้งห้าที่หลงเหลืออยู่ในขณะขั้นเกิดดับได้ เมื่อขณะจิตเป็นฌาณ ซึ่งเหลือเพียง ๑๐ สภาวะ

• โดยที่ ข้อ ๒ -๔ เป็น รูปขันธ์
• ข้อ ๕ -๖ เป็น เวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
• ข้อ ๗ - ๘ เป็น สังขารขันธ์
• ข้อ ๙ - ๑๐ เป็น วิญญาณขันธ์
• ข้อ ๑๑ - ๑๒ เป็น สัญญาขันธ์

เมื่อเห็นขันธ์ทั้งห้า ตามตั้งแต่

ข้อ ๑ - ๑๒ ย่อมเห็น ขันธ์ห้า
(อันมีลมหายใจเป็นตัวแทนแห่งรูปขันธ์)เกิดดับตลอดจนเห็นเป็น "อนิจจัง")
ข้อ ๑๓ หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความ เห็นเป็น "ไม่เที่ยง" โดยสมบูรณ์
ข้อ๑๓ - ๑๔ หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง
ข้อ ๑๕ พิจารณาโดย ไม่ยึดติด
ข้อ ๑๖ หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

(ดูเรื่องนิวรณ์ ๕ และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน(สมาธิ)

อานาปานสติโดยตถาคต จากวัดป่านาพง : อ่านโดย ศันสนีย์ นาคพงศ์
 

Free Web Hosting