หลักการหรือคำสอนในพุทธศาสนา
หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภท
อเทวนิยม
คือ ไม่นับถือพระเจ้าเกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ปีก่อนพุทธศักราช ผู้เป็นศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ
เหตุผลที่ดลใจให้เจ้าชายสิทธัตถะหนีออกไปผนวช เพราะพระองค์ขณะเสด็จประพาสอุทยานทรงเห็นคนเกิด คนแก่ คนป่วยและคนตาย พระองค์ทรงคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือความไม่แน่นอนของชีวิต พระองค์จึงมีความปรารถนาที่จะเสาะแสวงทางดับทุกข์ดังกล่าว
พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงออกผนวช
พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทรงตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระชนมายุ ๘๐ พรรษา
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ก่อนปรินิพพานได้ประทานปัจฉิมโอวาทแก่สาวกและทรงเตือนให้สาวกปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความไม่ประมาท
(อัปปมาทธรรม)
๑.ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์
คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่
ธาตุดิน |
ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม |
ธาตุน้ำ |
ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา |
ธาตุลม |
ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร |
ธาตุไฟ |
ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์ |
นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
เวทนา |
ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา |
สัญญา |
คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้ |
สังขาร |
คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต |
วิญญาณ |
คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ ๖) |
๒.อริยสัจ ๔
แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา
เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
๑. ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
- สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
- ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้น
เนืองๆ เช่น ความเศร้าโศก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
๒. สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา( ความอยาก)
- กามตัณหา คือ อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนยังไม่มี
- ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
- วิภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
๓. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับในมรรค 8
๔. มรรคมีองค์ ๘(หนทางแห่งการดับทุกข์)
สัมมาทิฏฐิ |
ความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์ |
สัมมาสังกัปปะ |
ความดำริชอบ คือ ความคิดที่ปลอดโปร่ง ความคิดไม่พยาบาท ความคิด ไม่เบียดเบียน |
สัมมาวาจา |
วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ |
สัมมากัมมันตะ |
การงานชอบ คือ ไม่ทำลายชีวิตคนอื่น ไม่ขโมยของ ไม่ผิดในกาม |
สัมมาอาชีวะ |
เลี้ยงชีพชอบ คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต |
สัมมาวายามะ |
ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้น เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว |
สัมมาสติ |
ความระลึกชอบ คือ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม |
สัมมาสมาธิ |
การตั้งใจชอบ คือ การตั้งจิตที่แน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเพื่อมุ่งมั่นกระทำความดี |
จากอริยสัจ ๔ สังเกตได้ว่า
๑. ทุกข์ คือ ตัวปัญหา
๒. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา
๓. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา
๔. มรรค คือ วิธีการแก้ปัญหา