หลักการหรือคำสอนในพุทธศาสนา

มรรคมีองค์แปด คือ ไตรสิกขา ได้แก่


ศีล: สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สมาธิ: สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ปัญญา: สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

ความสำคัญของอริยสัจ ๔
๑. เป็นคำสอนที่คลุมหลักธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
๒. เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแห่งปัญญา
๓. คำสอนที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ตามหลักความจริงแห่ง      ธรรมชาติ

๓. ไตรลักษณ์

คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
๑. อนิจจตา หรือ อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่เที่ยง ไม่ถาวร ไม่แน่นอน
๒. ทุกขตา หรือ ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป
๓. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
ในเรื่งไตรลักษณ์ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคำสอนสูงสุด ซึ่งทุกสิ่งในสากลจักรวาลล่วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น

๔. กฎแห่งกรรม

หมายถึง กระบวนการกระทำและการให้ผลการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีหลักอยู่ว่า
คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
"ผู้ทำความดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”
กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา
ดังพุทธวจนะตรัสว่า
“ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว ย่อมกระทำทางกาย ทางวาจา    ทางใจ"

๕. พรหมวิหาร ๔

ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่
๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
๒. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์
๓. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี
๔. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

๖. อัปปมาท

ธรรมที่กล่าวถึงความไม่ประมาท คือ การดำเนินชีวิตที่มีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังไม่ถลำตัวไปในทางเสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสเกี่ยวกับความไม่ประมาทว่า “ ความไม่ประมาท ย่อมเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่”

๗. สังคหวัตถุ ๔

หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
๑. ทาน การให้
๒. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
๔. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๘. ฆราวาสธรรม ๔

หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่
๑. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน
๒. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น
๓. ขันติ ความอดทนและให้อภัย
๔. จาคะ การเ สียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน

๙. บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี ๑๐ ประการ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง

 

Free Web Hosting