บทสวดมนต์แปล
ระตะนัตตะยัปปะฌามะคาถา
(หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะฌามะคาถาโย,
เจวะ สังเวคะปะระกิตตะนะปาฐัญจะ, ภะณามะ เส.)
พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก,
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสนา สว่างรุ่งเรือง เปรียบดวงประทีป,
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก,
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด,
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
สังโฆ สุเขตตา ภะยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด,
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี,
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะ ยะตาภิสังขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา,
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือ พระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่ง
โดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้, ขออุปัททวะ
(ความชั่ว) ทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จ
อันเกิดจากบุญนั้น,
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน,
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้,
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,
มะยันตัง ธัมมัง สุตฺวา เอวัง ชานามะ,
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,
ชาติปิ ทุกขา,
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา,
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง,
แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศรก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์,
สังขิตเตนะ ปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์,
เสยยะถีทัง,
ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ
รูปูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,
เวทะนูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
สัญญูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
สังขารูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
วิญญาณูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ,
เยสัง ปะริญญายะ,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง,
ธะระมาโน โส ภะคะวา,
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย, เช่นนี้เป็นส่วนมาก,
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี, พะหุลา
ปะวัตตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวก
ทั้งหลาย ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนก อย่างนี้ว่า,
รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง,
เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง,
สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง,
สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง,
วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง,
รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน,
เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน,
สัญญา อะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน,
สังขารา อะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน,
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,
สัพเพ สังขารา อะนิจจา,
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง,
สัพเพ ธัมมา อะนัตตา ติ,
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,
เตมะยัง (*1) โอติณณามะหะ,
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,
ชาติยา,
โดยความเกิด,
ชะรามะระเณนะ,
โดยความแก่และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศรก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย,
ทุกโขติณณา,
เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,
ทุกขะปะเรตา,
เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะ กิริยาปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้.